ภาพรวมตลาด
ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมิถุนายนที่จะประกาศในวันอังคารนี้ กำลังเป็นจุดโฟกัสสำคัญของทั้งตลาดการเงินและผู้กำหนดนโยบายการเงิน เพราะนี่จะเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขเงินเฟ้อสะท้อนแรงกระเพื่อมเบื้องต้นจากผลกระทบของภาษีศุลกากรรอบใหม่ที่ประธานาธิบดีทรัมป์เดินหน้าใช้เป็นเครื่องมือกดดันการค้าโลกโดยตรง นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า CPI ทั้งรายเดือนและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะปรับเพิ่มขึ้นราว 0.3% ซึ่งจะดันตัวเลขเงินเฟ้อในกรอบรายปีขึ้นไปอยู่ราว 2.7% และ 3.0% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าระดับของเดือนพฤษภาคมเล็กน้อย
แม้ภาพรวมจะเห็นเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น แต่หลายสำนักวิเคราะห์ก็ยังมองว่าแรงกดดันนี้ยังคงจำกัดอยู่ในบางหมวดสินค้าเท่านั้น และยังไม่ได้ขยายวงกว้างไปทุกกลุ่มอย่างชัดเจน สัญญาณนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ระบุว่าราคารถยนต์มือสองยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเงินเฟ้อ ขณะที่หมวดบริการและสินค้าบางประเภทก็เริ่มมีการส่งผ่านต้นทุนภาษีศุลกากรไปยังราคาขายจริง ซึ่งต้องติดตามต่อว่าผู้บริโภคจะเลือกแบกรับต้นทุนนี้ต่อหรือจะหันไปรัดเข็มขัดมากขึ้น
เมื่อย้อนดูตัวเลขเดือนพฤษภาคม CPI เคยเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ก่อนหน้า สะท้อนว่าผลของภาษีศุลกากรยังไม่ได้ซึมลึกเข้ามาในโครงสร้างราคาสินค้าอย่างทันทีทันใด บางหมวด เช่น พลังงานและรถยนต์ ก็ยังช่วยประคองให้ภาพรวมเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ได้ แต่หลายฝ่ายเตือนว่าในช่วงฤดูร้อนนี้ อาจเริ่มเห็นแรงกดดันราคาชัดเจนขึ้นเมื่อสินค้าคงคลังเดิมเริ่มหมดลง
สิ่งที่ตลาดจับตาต่อเนื่องทันทีหลังประกาศ CPI คือถ้อยแถลงของผู้บริหาร ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) โดยเฉพาะการให้สัญญาณจาก John Williams ประธาน Fed สาขานิวยอร์ก และ Christopher Waller ที่จะตามมาในวันพุธและพฤหัสบดี หากเงินเฟ้อออกมาตามคาดหรือสูงกว่าคาดเล็กน้อย Fed ก็อาจยังยึดแนวทาง “รอดูข้อมูล” ต่อไป ไม่รีบร้อนลดดอกเบี้ย แม้จะมีแรงกดดันจากฝั่งการเมือง โดยเฉพาะทำเนียบขาวที่อยากเห็นต้นทุนการกู้ยืมปรับตัวลงเร็วกว่าเดิม
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
EURUSD
จะเห็นได้ว่าราคา แม้จะถูกแรงขายกดดันให้ย่อตัวลงมาชั่วคราวในบางจังหวะ แต่ก็ยังไม่สามารถหลุดกรอบแนวรับสีแดงซึ่งเป็นโซนรับสำคัญได้ แสดงให้เห็นว่าฝั่งแรงซื้อยังคงปกป้องระดับนี้ได้อย่างเหนียวแน่น อีกทั้งราคายังเคลื่อนไหวตามกรอบเทรนไลน์ขาขึ้นได้ต่อเนื่อง ซึ่งบ่งชี้ว่าโมเมนตัมฝั่งขาขึ้นยังคงมีน้ำหนักมากกว่า ตราบใดที่ราคายังประคองตัวเหนือแนวรับสีแดงและยังไม่หลุดกรอบเทรนไลน์นี้ โอกาสที่ราคาจะดีดกลับขึ้นไปทดสอบโซนแนวต้านแถว 1.1987 และ 1.21324 ก็ยังคงเปิดกว้างอยู่เช่นกัน
EURUSD (H4)

XAUUSD
ยังคงแกว่งตัวในกรอบแนวต้านสีแดงด้านบน ซึ่งแม้จะพยายามดีดขึ้นไปทดสอบหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถเบรกทะลุขึ้นไปยืนเหนือกรอบได้สำเร็จ สะท้อนให้เห็นว่าแรงขายยังคงกดดันอย่างต่อเนื่อง และโมเมนตัมฝั่งขาลงก็ยังไม่ได้ถูกลบไปง่าย ๆ ขณะเดียวกัน การที่ราคายังคงเคลื่อนตัวตามกรอบเทรนไลน์ขาลงที่เห็นได้ชัด ทำให้ความเสี่ยงที่แรงขายจะกลับมากดดันราคายังคงมีอยู่ ทั้งนี้ แนวรับสำคัญถัดไปยังคงจับตาที่บริเวณ 3,223.80 ดอลลาร์ และ 3,168.30 ดอลลาร์ ตามลำดับ
XAUUSD (H4)

BTCUSD
ล่าสุดราคาสามารถทะลุกรอบแนวต้านสีแดงขึ้นมาได้สำเร็จ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคลื่อนไหวสะสมพลังอยู่ในกรอบเดิมมาพักใหญ่ การที่ราคาดีดตัวทะลุแนวต้านได้อย่างชัดเจน บ่งบอกว่าแรงซื้อยังคงแข็งแกร่งและมีโอกาสหนุนให้ราคาปรับตัวขึ้นต่อได้ในระยะข้างหน้า ตราบใดที่ราคายังไม่ถอยกลับลงไปเคลื่อนที่ใต้กรอบสีแดงอีกครั้ง แนวโน้มฝั่งขาขึ้นก็ยังได้เปรียบ และโมเมนตัมฝั่งซื้อยังถือเป็นฝ่ายคุมเกมต่อไป ทั้งนี้ แนวต้านถัดไปจะอยู่ที่บริเวณ 124,000 ดอลลาร์ และ 128,000 ดอลลาร์ ตามลำดับ
BTCUSD (H4)
US100 ราคายังคงเคลื่อนไหวภายในกรอบเทรนไลน์ขาขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือยังไม่เห็นสัญญาณว่าราคาจะหลุดกรอบแนวรับสีแดงลงมาได้ ตราบใดที่ราคายังสามารถทรงตัวเหนือบริเวณนี้ได้ ก็ถือเป็นสัญญาณว่าแรงซื้อยังคงพยุงตลาดไว้ได้ดี และโครงสร้างแนวโน้มขาขึ้นยังไม่ได้รับความเสียหาย โอกาสที่ราคาจะมีแรงดีดตัวขึ้นต่อจึงยังคงมีความเป็นไปได้สูง เว้นแต่จะมีแรงขายเข้ามากดให้ทะลุแนวรับสำคัญนี้ลงไปจริง ๆ เท่านั้น จึงจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ภาพรวมเปลี่ยนไป ทั้งนี้ แนวต้านถัดไปยังคงมองไว้บริเวณ 23,105.26 จุด และ 23,496.56 จุด ตามลำดับUS100 (H4)
